ศูนย์กลางความรู้และเทคโนโลยีด้านอ้อยและน้ำตาล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย (สอนท.) The International Society of Sugar Cane Technologists (ISSCT) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ISSCT Agriculture Commission Workshop Agricultural Engineering, Agronomy and Extension ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะซายน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ผู้จัดทำนโยบาย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งจากภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Towards Bio-Circular-Green (BCG) Economy; Smart Farm to Drive Economic Recovery and Sustainable Sugarcane Industries” ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ การนำเสนอผลงานจากนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา รวมถึงการจัดแสดงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมชาวไร่อ้อยและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศ โดยจัดพิธีการเปิดงานการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ISSCT Agriculture Commission Workshop Agricultural Engineering, Agronomy and Extension ณ ห้องประชุม Fineen โรงแรมเดอะซายน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 และได้รับเกียรติจากรศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.วิรัตน์ วาณิชย์ศรีรัตนา นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุม ISSCT Workshop: Agricultural Engineering and Agronomy Workshop Prof. Hardev Singh Sandhu Commissioner & Chair of Agronomy Section กล่าวบรรยายความเป็นมาและความสำคัญของการประชุมนี้ และ คุณสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวเปิดประชุมอย่างเป็นทางการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานรวมทั้งสิ้น 120 คน จาก 20 ประเทศ (ออสเตรเลีย จีน โคลอมเบีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อินเดีย อิสราเอล ญี่ปุ่น เคนยา มอริเชียส ไนจีเรีย ปากีสถาน เรอูนียง เซเนกัล แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย ไทย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และซิมบับเว) มีการนำเสนอผลงาน แบ่งเป็น การนำเสนอปากเปล่า จำนวน 18 เรื่อง และการนำเสนอโปสเตอร์ จำนวน 23 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 41 ผลงาน โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละหัวข้อเรื่อง คือ Crop Management/Soil Health, Climate Change/Extension, Water management/Irrigation, Ag. Engineering/sensors/ new technologies/machine learning และ Weed Management
งานประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยและของโลกไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และ Smart Farm